แบบฝึกหัด จงตอบคำถามต่อไปนี้

11 ก.ย.

2.จงอธิบายลำดับขั้นตอนการคอมไพล์และรันโปรแกรม พอสังเขป

ตอบ

การคอมไพล์และรันโปรแกรม

           โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาโปรแกรมต่างๆ นั้น เรียกว่า รหัสต้นฉบับ (source code) ซึ่งอยู่ในรูปของข้อความตามหลักการเขียนโปรแกรมของภาษาโปรแกรมที่สามารถอ่าน และทำความเข้าใจได้ โดยมนุษย์เท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจโปรแกรมและปฏิบัติได้ จึงต้องนำรหัสต้นฉบับมาผ่านกระบวนการแปลงให้อยู่ในรูปของ อ็อบเจกต์โค้ด ที่ประกอบด้วยรหัสเลขฐาน 2 (ตัวเลข 0 และ 1) ก่อน เราเรียกกระบวนการแปลงดังกล่าวว่า การคอมไพล์โปรแกรม

           ดังนั้น โปรแกรมจะต้องถูกคอมไพล์ด้วยโปรแกรมแปลภาษาซี ( C compiler) เพื่อให้ได้อ็อบเจกต์โค้ดก่อนจึงจะสามารถรันได้ นอกจากคอมไพล์ และรันโปรแกรมยังมีกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง

การคอมไพล์และรันโปรแกรม

           ก่อนที่คอมไพเลอร์ภาษาซีจะแปลงรหัสต้นฉบับให้อยู่ในอ็อบเจกต์โค้ด ตัวประมวลผลก่อนซี (C preprocessor) จะถูกรันโดยอัตโนมัติ ในขั้นตอนนี้จะมีการดำเนินการต่างๆตามคำสั่งของ ตัวประมวลผลก่อนซี เช่น การอ่านแฟ้มส่วนหัว (header files) ต่างๆ เพื่อให้ถูกประมวลผลร่วมกับโปรแกรม เมื่อมีการใช้คำสั่ง #include หรือการแทนที่ข้อความด้วยค่าที่กำหนดให้เมื่อมีการใช้คำสั่ง #define เป็นต้น

           ก่อนที่โปรแกรมภาษาซีจะถูกรัน (run) จะต้องถูกแปลงให้อยู่ในรูปของ อ็อบเจกต์โค้ด (object code)[2] โดยการคอมไพล์ (compile)[3] โปรแกรมภาษาซีที่เขียนโดยใช้คำสั่งตามมาตรฐานของ ANSI C สามารถนำไปคอมไพล์ และรันที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันได้

           หลังจากโปรแกรมถูกคอมไพล์ อ็อบเจกต์โค้ดจะถูกเชื่อมโยงโดยโปรแกรมเชื่อมโยง (linker) เข้ากับส่วนของรหัสคำสั่ง (code) ที่อ้างอิงโดยโปรแกรม แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม เช่น ไลบรารีมาตรฐาน (standard library) ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้อ็อบเจกต์โค้ดมีความสมบูรณ์ เกิดเป็นโปรแกรมที่สามารถรันได้ (executable program)

           ในขั้นตอนสุดท้าย โปรแกรมที่สามารถรันได้จะถูกนำเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์โดย โปรแกรมบรรจุ (loader) จากนั้นการรันโปรแกรมจึงเริ่มต้นขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากการรันโปรแกรมขึ้นอยู่กับคำสั่งในโปรแกรมที่ปรากฏอยู่ในรหัส ต้นฉบับที่เขียนโปรแกรมนั่นเอง

3. จงอธิบายโครงสร้างโปรแกรมภาษาซี พอสังเขป

ตอบ     โปรแกรมภาษาต่างๆ จะมีรูปแบบหรือโครงสร้างเฉพาะที่แตกต่างกันไป สำหรับโปรแกรมภาษาซี มีโครงสร้างและลำดับการเขียนดังนี้

  1. ส่วนประมวลผลก่อน (Preprocessor statement)
  2. ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง (Global declarations statement)
  3. ส่วนฟังก์ชันหลัก (Function main)
  4. ส่วนฟังก์ชันที่กำหนดเอง (User-defined function)
  5. ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program Comment)

    ส่วนประมวลผลก่อน (Preprocessor statement)

              ส่วนนี้จะต้องมีทุกโปรแกรม อาจเรียกว่าส่วนหัวของโปรแกรม จำเป็นต้องกำหนดไว้ในตอนต้นโปรแกรมเสมอ โดยจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # ตามด้วยคำสั่งไดเร็คทีฟ (Directive) ที่ต้องการกำหนดค่า เช่น

              #include <stdio.h> หรือ #include “stdio.h”

              หมายถึงการผนวกเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ stdio.h เข้ามาใช้งาน ทั้งนี้เฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h นั้นจะเป็นไฟล์ชนิดข้อความ (Text file) ที่ภายในโปรแกรมจะมีการประกาศค่าตัวแปร และค่าคงที่ต่างๆ บรรจุฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ รวมเข้าด้วยกันตามหมวดหมู่เดียวกันไว้ และจัดเก็บลงในไลบรารี โดยจะถูกนำเข้ามาอ่านรวมกันกับชุดคำสั่งในโปรแกรมขณะที่คอมไพล์โปรแกรม

    ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง (Global declarations statement)

              ส่วนนี้จะใช้ในการประกาศตัวแปรหรือฟังก์ชันที่ต้อง ใช้ในโปรแกรม โดยทุกๆ ส่วนของโปรแกรมสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ประกาศไว้ในส่วนนี้ได้

    ส่วนฟังก์ชันหลัก (Function main)

              ส่วนนี้ทุกโปรแกรมจะต้องมี ซึ่งภายในฟังก์ชันหลักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงาน ฟังก์ชันนี้เริ่มต้นการทำงานด้วยฟังก์ชัน main() ส่วนคำสั่งต่างๆ จะต้องเขียนอยู่ระหว่างเครื่องหมาย { และ } เสมอ และคำสั่งทุกคำสั่งในภาษาซีจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; (semicolon) เสมอ

    ส่วนฟังก์ชันที่กำหนดเอง (User-defined function)

              เป็นการเขียนคำสั่งและฟังก์ชันต่างๆ ขึ้นใช้ในโปรแกรม โดยต้องอยู่ในเครื่องหมาย { } และต้องสร้างฟังก์ชันหรือคำใหม่ที่ให้ทำงานที่เราต้องการให้กับโปรแกรมและ สามารถเรียกใช้ได้ ภายในโปรแกรม

    ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program Comment)

              คอมเมนต์ (comment) คือส่วนที่เป็นหมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมใส่ข้อความอธิบายกำกับลงไปใน source code ซึ่งคอมไพเลอร์จะไม่ทำการแปลผลในส่วนที่เป็นคอมเมนต์นี้

              คอมเมนต์ในภาษาซีมี 2 แบบคือ

    1. คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย //
    2. คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด ใช้เครื่องหมาย /* และ */

(ม.5) งานชิ้นที่ 3 – โปรแกรมแรกของฉัน

7 ส.ค.

#include<stdio.h>

int main()

{    

        printf(“Hello World !\n”);    

        printf(“Dudruthai ponyaim!\n”);    

        getch();

}

แบบฝึกหัดที่ 1

3 ก.ค.

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ มี 4 ขั้นตอนคือ 1. เขียนโปรแกรม 2. คอมไพล์โปรแกรม 3. เชื่อมโยงโปรแกรม 4. ประมวล ผล

2.จงบอกความแตกต่างระหว่างคอมไพลเลอร์  และอินเตอร์พรีเตอร์

ตอบ แตกต่างกันคือ อินเตอร์พรีเตอร์เมื่อพบข้อผิดพลาดต้องแก้ไขทีละคำสั่ง ถึงจะทำงานต่อได้

แต่คอมไพเลอร์เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแสดงข้อผิดพลาดทั้งหมดหลังคอมไพล์เสร็จสิ้น

3.ภาษาซีใช้ตัวแปรภาษาชนิดใด

 ตอบ คอมไพเลอร์

แนะนำตัว

24 ส.ค.

รูปภาพ

ชื่อ นางสาวดุจฤทัย  พลเยี่ยม

ชั้น ม.4/1  เลขที่ 32

โรงเรียนคำนาดีพิทยาคม

คุณครูที่ปรึกษา  คุณครูจตุรภัทร  ประทุม

Hello world!

29 มิ.ย.

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!